รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ชลบุรีสมัยอยุธยาและธนบุรี  ตามทำเนียบศักดินาหัวเมือง พ.ศ.๑๙๑๙ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) เมืองชลบุรีมีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองมีฐานะเป็น ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร ศักดินา ๒,๔๐๐ ไร่ ขึ้นประแดง อินทปัญญาซ้าย

บริเวณถนนตัดสี่แยกเฉลิมไทยในอดีต

ในสมัยอยุธยา ชลบุรีเป็นเมืองตรี ปกครองอย่างมีกรมการเมือง เจ้าเมืองมียศเป็น ออกพระ ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ (เท่าปลัดเมืองเอก) ปลัดเมืองศักดินา ๖๐๐ ไร่ ยกกระบัตร ศักดินา ๕๐๐ ไร่ เป็นเมืองส่วยไม้แดง คือมีหน้าที่เก็บส่วยแทนแรงไพร่ (หลวง)  ส่วยเป็นเนื้อไม้แดงส่งไปกรุงศรีอยุธยา เพราะทางตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลบางทราย มีป่าไม้แดงมากจนได้ชื่อว่าตำบลหนองไม้แดง

ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๒๗ - ๑๙๒๙  พระยากัมพูชาลอบยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองชลบุรีและเมืองจันทบุรีไปกัมพูชาประมาณ ๖ - ๗ พันคน

ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น กรมหมื่นเทพพิพิธได้มาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรจ์ ทางหัวเมืองภาคตะวันออกได้แก่จันทบุรี ระยอง บางละมุง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เข้าร่วมกองทัพโดยอ้างว่าจะไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ในครั้งนั้นชาวชลบุรีได้ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งชลบุรีแทบกลายเป็นเมืองร้าง กรมหมื่นเทพพิพิธรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ยกไปตั้งมั่นที่เมืองปราจีนบุรี แต่ถูกกองทัพจากอยุธยาออกไปโจมตี แล้วฝ่ายพม่าเข้าโจมตีซ้ำจนฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธแตกพ่ายไป

ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าประมาณสองเดือน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังประมาณ ๑,๐๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้เดินทางผ่านบ้านพานทอง ตำบลดอนหัวล่อ บ้านอู่ตะเภา หนองไม้แดง เขาพระบาท บางปลาสร้อย (เมืองชลบุรี)  แต่ชลบุรีในเวลานั้นมีสภาพเหมือนเมืองร้าง จึงเลยไปที่พัทยา รุ่งขึ้นจึงไปจอมเทียน แล้วต่อไปที่ทุ่งไก่เตี้ยและสัตหีบ จากนั้นจึงไปสู่ระยอง ได้ปะทะกับกำลังของขุนรามหมื่นซ่อง (ส้อง) แห่งเมืองระยอง ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้ กำลังได้แตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนายอยู่นกเล็ก ได้มาตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ที่บางปลาสร้อย กองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกมาปราบ โดยมาตั้งอยู่ที่หนองมน แล้วส่งคนไปเจรจา นายทองอยู่นกเล็กยอมสวามิภักดิ์ แล้วนำเสด็จเข้าเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสุนทร รักษาเมืองชลบุรี ต่อมาเขาประพฤติมิชอบจึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง

โรงพยาบาลชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นผู้รักษาเมืองชลบุรี และทายาทของเจ้าพระยาจักรี (แขก) ได้ปกครองเมืองชลบุรีต่อมาอีกสี่ชั่วอายุคน เท่าที่มีหลักฐานได้แก่ ออกพระชลบุรีศรีมหาสมุทร (หวัง  สมุทรานนท์) ปกครองเมืองชลบุรีตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช  ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพระยาราชวังสัน ตำแหน่งเจ้ากรมพาณิชย์นาวี บุตรหลานของท่านได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองชลบุรี ต่อมาจนถึงหลวงภูมิรักษ์บดี (จอม) นายทะเบียนที่ดินเมืองชลบุรีได้รับพระราชทานนามสกุล ๓  จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าสมุทรานนท์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖

ชลบุรีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช ชลบุรีเป็นเมืองจัตวา สังกัดกรมท่า จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๗ จึงย้ายไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย

องเชียงสือมาลี้ภัยการเมืองที่เกาะกระบือ  ครั้งนั้นพระยาชลบุรีไปตรวจท้องที่พบเข้าจึงแนะนำให้ไปขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลี้ภัยการเมืองที่กรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช ทรงอนุญาตให้เข้ามาพำนักอยู่ที่บ้านใต้ต้นสำโรง ต่อมาได้กลับไปกอบกู้บ้านเมืองเป็นพระเจ้าเวียดนามญาลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น