รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมประเพณี

งานบุญกลางบ้าน และเครื่องจักสานพนัสนิคม
จัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของสัปดาห์แรกเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 6 ของไทย เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของสัปดาห์แรกเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 6 ของไทย ชาวบ้านจะนำอาหารมาร่วมกันทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่เจ้า กรรมนายเวร ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อขับไล่สิ่งเลวร้าย ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ หลังพิธีสงฆ์จะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน การละเล่นพื้นบ้าน และสาธิตการทำเครื่องจักสานพนัสนิคม

งานเทศกาลวันไหล
วันที่ 19 เมษายน ของทุกปี คือวันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเลในช่วงวันสงกรานต์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16–17 เมษายน ของทุกปี บริเวณชายหาดบางแสนและพัทยา มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำ ก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ และกีฬาพื้นบ้าน สำหรับเมืองพัทยา ได้กำหนดจัดงานวันไหลในโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ

งานประเพณีกองข้าว
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชาที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เพื่อเป็นการบวงสรวงเทพเทวดาที่ปกป้องคุ้มครองมาตลอดปี กิจกรรมของงานประกอบด้วยการจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่แต่งกายด้วยชุดไทยเข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวง และเซ่นสังเวยผี การสาธิตประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิต และจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง

งานเทศกาลพัทยา
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปี จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเผยแพร่ชื่อเสียงของเมืองพัทยา มีการจัดขบวนแห่ที่ประดับด้วยดอกไม้สวยงาม การแสดงศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านไทย แข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดนางงามพัทยา ประกวดก่อปราสาททราย จุดพลุและดอกไม้ไฟที่ริมทะเล และการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

งานประเพณีก่อพระทรายวันไหล บางแสน
เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุขได้ ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมเรียกว่า “งานทำบุญวันไหล” คือ การที่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆได้มาทำบุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ของไทย โดยการนิมนต์พระทุกวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์ มีการทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำ หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ การละเล่น และกีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น

งานประจำปีจังหวัดชลบุรี
ประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็น งานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรีได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 โดยรวมงานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ งานสงกรานต์ และงานกาชาดไว้ด้วยกัน โดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันจัดงานกิจกรรมของงานประกอบไปด้วย ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม นิทรรศการ และการออกร้าน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ตลอดจนปลูกฝังคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมไว้สืบไป

สถานที่ท่องเที่ยว

บ้านสุขาวดี อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
คฤหาสน์อันกว้างขวาง สวยงาม ของ ด.ร.ปัญญา โชติเทวัญ เจ้าของสหฟาร์ม เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่บริเวณเขาหมาจอ ในพื้นที่ของกองทัพเรือ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ

แหลมแท่น อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
อยู่บริเวณหาดบางแสนเลยมาทางเขาสามมุข มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกไปไม่มากนัก

ปราสามเวทมนต์ ทักซิโด้ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ 78/16-17 ถนนพัทยา สาย 2 ตำบลหนองปรือ เป็นการแสดงในโรงละครมายากลในรูปแบบภัตตาคารเล่นระดับกับบรรยากาศแห่ง ปราสาทมนต์ขลัง

ถ้ำมังกรขาวหรือตำหนักหลวงปู่มังกรขาว อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
เป็นศาลเจ้า (ไป่หลงกง) ที่ชาวจีนนิยมสักการะ

เพอคูล่าฟาร์ม อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ฟาร์ม เอกชนรายแรกที่ดำเนินธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้พฤติกรรม และอุปนิสัยของปลาอย่างใกล้ชิด พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการคอยให้ความรู้และตอบข้อซักถาม

เกาะขามใหญ่ อำเภอเกาะสีชัง จ.ชลบุรี
อยู่ด้านหน้าเกาะสีชัง ห่างจากเกาะสีชังทางเรือประมาณ 5 นาที

วัดเขาพระพุทธบาทบางทราย อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทด้านซ้ายมือก่อนจะถึงตัวเมืองชลบุรี

เกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เป็น เกาะใหญ่ที่มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของชลบุรี อยู่ห่างจากฝั่งศรีราชาประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่จอดพักเรือสินค้านานาชาติ ที่ตั้งพระราชฐาน และเหมาะที่จะท่องเที่ยวในบรรยากาศแบบท้องถิ่น ซึ่งสามารถแวะท่องเที่ยวในวันเดียวหรือพักค้างคืนก็ได้

ถ้ำเขาชะอางค์ทรงเครื่อง อำเภอบ่อทอง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ห่างจากตัวอำเภอบ่อทองไปทางทิศตะวันออก ไปประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นถ้ำใหญ่จุคนได้นับพันคน มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก

ถ้ำเขาชะอางค์ห้ายอด อำเภอบ่อทอง จ.ชลบุรี
อยู่เลยเขาชะอางค์ทรงเครื่องไปอีก 7 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกย้อยจำนวนมาก ภายในแบ่งเป็นถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมาย

บางเสร่ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นชุมชนหมู่บ้านประมง อยู่ห่างจากพัทยาประมาณ 16 กิโลเมตร แยกขวาจากถนนสุขุมวิทบริเวณ กม. 164 เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
สวนองุ่นริมอ่างเก็บน้ำ อยู่ติดกับเขาชีจรรย์ มีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ นักท่องเที่ยวนิยมแวะซื้อผลิตพันธุ์จากองุ่นมากมาย

อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ทาง เข้าอยู่ก่อนถึงวัดวัดญาณสังวรารามเล็กน้อย มีทางแยกตรงสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำไปอีก 800 เมตร ,เป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมชั้นสูงของจีน ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2530

หาดทรายแก้ว อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็นหาดที่สวยงามอยู่ในความดูแลของหหารเรืออยู่ใกล้โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

หาดดงตาล อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็น หาดที่สวยงาม โค้งมนไปตามขอบอ่าวสัตหีบตั้งแต่ที่ว่าการอำเภอสัตหีบเข้าไปในกองเรือ ยุทธการ เรียงรายไปด้วยต้นตาลซึ่งขึ้นอยู่ ณ ที่นี้มาช้านาน อันเป็นที่มาของชื่อชายหาดแห่งนี้

หาดเตยงาม อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เดิม ชื่อ อ่าวตากัน ตามประวัติการตั้งฐานทัพเรือสัตหีบ ทางเข้าอยู่ด้านหน้าฐานทัพเรือและหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นหาดทรายขาวสวยงามและสะอาด เพราะได้รับการดูแลอย่างดีจากทหารเรือ เปิดให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด

สวนจุลกาลสถิตสถานบรรพชนสยาม อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นสวนที่สร้างถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2538 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ต.พลูตาหลวง

หมู่บ้านช่องแสมสาร อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นหมู่บ้านชาวประ มงปลายแหลมสัตหีบ บริเวณหมู่บ้านมีที่พักหลายแห่ง นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนตกปลากันมาก มีบริการเรือและอุปกรณ์ตกปลาให้เช่า

วัดสัตหีบ หรือ วัดหลวงพ่ออี๋ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ในตัวอำเภอสัตหีบ ด้านหลังวัดติดทะเล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงพ่ออี๋หรือพระครูวรเวทมุนี ซึ่งมีความรู้ทางด้านวิปัสสนา เป็นที่พึ่งพิงของชาวบ้านในยามยาก

พัทยาคาร์ท สปีดเวย์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็นสนามแข่งรถเล็ก ตั้งอยู่ที่ 248/2 หมู่ที่ 2 ถนนเทพประสิทธิ์ ซึ่งเป็นถนนเชื่อม ระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนพัทยาหาดนาจอมเทียน

ทิฟฟานี โชว์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่ 464 หมู่ 9 ถนนพัทยาสาย 2 จัดการแสดงคาบาเร่ต์โดยนักแสดงชายล้วน ด้วยฉากแสงสีเสียงอันตระการตา

อัลคาซาร์ คาบาเรต์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
จัดการแสดงคาบาเร่ต์โดยนักแสดงชายล้วน ด้วยฉากแสงสีเสียงอันตระการตา ตั้งอยู่ที่ 78/14 ถนนพัทยาสาย 2 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ๆ ละ 3 รอบ

สนามแข่งรถพีระอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็นสนามแข่งรถจักรยานยนต์ระดับนานาชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 326 ไร่ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 36 ห่างจากตัวเมืองพัทยา 15 กิโลเมตร

สนามแข่งรถเล็ก เค อาร์ โกคาร์ท กรังปรีซ์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่ถนนเทพประสิทธิ์ ก่อนถึงหาดจอมเทียน เป็นสนามมาตรฐาน ระยะทาง 1,100 เมตร สำหรับมืออาชีพและสมัครเล่น

ศูนย์ฝึก-สอนลิงพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ กม. 151 ซอยชัยพฤกษ์ ถนนสุขุมวิท พัทยา มีโชว์วันละ 6 รอบ คือ 9.00 น. 11.00 น. 12.00 น. 13.00 น. 14.00 น. และ 17.00 น. ซึ่งจะมีการโชว์ต่าง ๆ

หาดจอมเทียน อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ทางทิศใต้อยู่หางจากตัวเมืองพัทยาประมาณ 4 กิโลเมตร ชายหาดมีความยาว 6 กิโลเมตร มีถนนที่ร่มรื่นเลียบชายหาดโดยตลอด

หาดวงพระจันทร์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
อยู่ ทางด้านทิศเหนือของอ่าวพัทยา ทางเข้าทางเดียวกับโรงแรมเซ็นทรัลวงศ์อมาตย์ ชายหาดมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ เป็นหาดที่เงียบสงบ เหมาะที่จะเล่นน้ำ และพักผ่อน

สวนกล้วยไม้ศิริพร อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่เลขที่ 235/14 หมู่ 5 ถนนเนินพลับหวาน ตำบลหนองปรือ จากถนนสุขุมวิทให้เลี้ยวซ้ายเยื้องกับทางแยกไฟแดงพัทยากลาง เข้าไปประมาณ 800 เมตร ภายในสวนจะมีกล้วยไม้นานาชนิดให้ชมและเลือกซื้อพันธุ์ไม้ได้ อาทิ พันธุ์ปอมปาดัว แวนด้า โกลเด้น ชาวเวอร์ แคทรียา สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ โทร. 0 3842 9013, 0 3842 1536

โฟมปาร์ตี้ โรงแรมฮาร์ดร็อกพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
จัด ขึ้นบริเวณสระว่ายน้ำของโรงแรมทุกวันเสาร์ เวลา 21.00-01.00 น. เป็นการลงเล่นฟองโฟมในสระว่ายน้ำอย่างสนุกสนาน ผู้เข้าร่วมต้องอายุ 20 ปีขึ้นไป

แฟร์เท๊กซ์ สปอร์ต คลับ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ศูนย์ อกกำลังกายครบวงจร อาทิ ปีนหน้าผาจำลอง ชกมวย โยคะ สควอช เทนนิส เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่179/201 หมู่ 5 ถนน พัทยาเหนือ โทร. 0 3848 8196, 0 3825 3888 โทรสาร 0 3848 8197 กรุงเทพฯ
โทร. 0 2386 6117-8

เปิดหูเปิดตาโชว์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ ถนนพัทยาสาย 2 ตรงข้ามกับทิฟฟานี่โชว์ เปิดการแสดงมายากล โดยผ่านการแสดงรูปแบบต่างๆ เช่น อลาดิน, เดอะ เมอร์เมด, สาวน้อยไร้ร่าง

เดอะฮอร์สชูพ้อยท์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 100 ตำบลโป่ง เป็นสถานที่ฝึกขี่ม้าและโรงแรมที่พัก ตั้งอยู่บนถนนพรประภานิมิตร (เข้าทางเดียวกับสยามคันทรี่คลับ)

โจโจ้ฮอร์สคลับ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็น สถานที่ฝึกขี่ม้า ตั้งอยู่ที่ทางเข้าโรงแรมมารีน่าอินน์ ถนนนาเกลือ ซอย 12 อัตราค่าเช่าขี่ม้า 1 ชั่วโมง ราคา 600 บาท, 10 ชั่วโมง 4,000 บาท โทร. 0 3822 5149 email : jojo@chonburi.ksc.co.th

เกาะสาก อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
อยู่ ด้านทิศเหนือของเกาะล้าน ห่างจากเกาะล้านไปประมาณ 600 เมตร เช่าเรือเร็วจากหาดพัทยา 3,000 บาท ใช้เวลา 20 นาที เป็นเกาะขนาดเล็ก โค้งเป็นรูปเกือกม้าหงาย มีหาดทรายขาวนวลอยู่ 2 หาด ทางด้านเหนือและใต้ มีทางเดินติดต่อกันได้ มีแนวปะการัง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว

เลคแลนด์ วอเตอร์เคเบิ้ลสกี อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ตรงหลัก กม. 150.5 อยู่ห่างจากตัวเมืองพัทยาประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นสถานที่เล่นสกีน้ำของเมืองพัทยา

โรงภาพยนตร์ทะลุมิติ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ชั้น 3 รอยัล การ์เด้น พลาซ่า พัทยา เป็นโรงภาพยนต์ที่ใช้ระบบพิเศษ ทำให้ผู้ชมรู้สึกราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริง อัตราค่าเข้าชม 1 เรื่อง 200, 2 เรื่อง 300 โทร.
0 3871 0294-8

เกาะค้างคาว อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
เป็น เกาะเล็ก ๆ ด้านทิศใต้ของเกาะสีชัง มีหาดทรายและปะการัง นั่งเรือท่าเทววงศ์ไปประมาณครึ่งชั่วโมง ค่าเช่าเรือประมาณ 800 บาท บนเกาะมีที่พักบริการ

น้ำตกชันตาเถร อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
เป็น น้ำตกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ อยู่ห่างจากถนนสุขุมวิท ไปประมาณ 15 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3144 ทางไปวัดเขาไม้แดง

ซีเอ็มที ฟลายอิ้งคลับ อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
อยู่บริเวณ กม.10 ทางหลวงหมายเลข 36 ทางไปสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นสถานที่ฝึกเรียนการบินขั้นพื้นฐานของอากาศยานเบาพิเศษ

ชลบุรี ฟรายอิ้ง คลับ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
อยู่ที่ตำบลบางพระ สามารถชมทิวทัศน์ในมุมสูงด้วยเครื่องบินเล็กพร้อมนักบินพาโฉบฉิวชมเมืองและทิวทัศน์โดยรอบได้ 1 รอบ

วัดหลวงพรหมวาส อำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่บ้านคลองหลวง ตำบลวัดหลวง ริมถนนสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตามเส้นทางหมายเลข 315 อยู่ด้านขวา

เขาสามมุข อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
สัญลักษณ์ ในดวงตราประจำจังหวัดชลบุรี เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านอ่างศิลา และหาดบางแสน เชิงเขาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่เขาสามมุข

พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่เส้นทางเดียวกับทางไปวัดญานสังวราราม โดยแยกจากถนนสุขุมวิท บริเวณ กม. 160 ไปอีก 6 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักด้วยแสงเลเซอร์บนหน้าผา

อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เกาะขามเป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแสมสาร เป็นเกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีชายหาดที่สวยงาม

ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็น แหล่งให้ความรู้ทางด้านชีววิทยา เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเต่าทะเล สำหรับคณะต่าง ๆ ที่เข้าเยี่ยมชม มีวิทยากรบรรยาย ชมวีดีทัศน์และนำชมนิทรรศการกับเยี่ยมชมความน่ารักของเต่าทะเลที่บ่ออนุบาล

หาดนางรำ อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
อยู่ ใกล้กับท่าเรือจุกเสม็ดหรือท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นหาดยาวประมาณ 200 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณมีร้านอาหารและที่พักของสโมรสรทหารเรือ สุดปลายหาดคือแหลมปู่เจ้าประดิษฐานศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

สวนนงนุช อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในเนื้อที่ 1,500 ไร่ ภายในมีสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด และศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การแสดงของช้าง

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
มี เนื้อที่กว้างขวางถึง 366 ไร่ แยกซ้ายจากถนนสุขุมวิทตรง กม. 160 ไปอีก 5 กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อถวายสมเด็จพระญาณสังวรฯ สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “จักรีนฤเบศร” หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี เป็นเรือที่ต่อในประเทศสเปน เมื่อปี 2537

ปราสาทสัจธรรม อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่บริเวณแหลมราชเวช ตำบลนาเกลือ เมืองพัทยา ทางเข้าอยู่บริเวณซอยนาเกลือ 12 เป็นปราสาทไม้ริมทะเลที่อลังการตระการตา งดงามด้วยประติมากรรมและลวดลายแกะสลักที่สะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ ภูมิปัญญา คุณธรรมและปรัชญาของคนในโลกตะวันออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2524

จังเกิล บันจี้จัมป์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่บริเวณหาดจอมเทียน กิโลเมตรที่ 3 ใกล้กับบ่อตกปลา จอมเทียน ฟิชชิ่ง ปาร์ค เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความสนุกสนานตื่นเต้น เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. อัตราค่าบริการ 1,800 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 6387 3880

อุทยานหินล้านปี และฟาร์มจระเข้พัทยา อำเภอ จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่เลขที่ตำบลหนองปลาไหล จากถนนสุขุมวิทบริเวณนาเกลือมีป้ายบอกทางแยกหลัก กม. 140 ใกล้สะพานลอยหน้าวัดสว่างฟ้า เข้าไปตามถนนชัยพรวิถี (ทางหลวงหมายเลข 3024)

อุทยานสามก๊ก อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
อุทยาน สามก๊ก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานไทย-จีน ในเนื้อที่ 36 ไร่ ซึ่งริเริ่มขึ้นจากแนวคิดของคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นักธุรกิจเชื้อสายจีนชั้นนำของไทย

โรงละครอลังการ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
โรง ละคร ประกอบด้วย กำแพงแก้ว หอระฆังมงคล ภัตตาคาร “อลังการ” ภายในตกแต่งด้วยศิลปะสมัยใหม่ที่เชื้อเชิญให้ผู้มาเยือนได้เอมอิ่มกับอาหาร ไทยและนานาชาติ และลานวัฒนธรรมและร้านขายของที่ระลึก

อันเดอร์ วอเตอร์ เวิลด์ พัทยา (Underwater World Pattaya) อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็น แหล่งรวมพันธ์ปลาทะเลในด้านอ่าวไทย นักท่องเที่ยวสามารถชมผ่านมิติใหม่โดยเดินลอดอุโมงค์แก้วที่เปิด ให้เห็นปลาประเภทต่าง ๆ ที่ว่ายอยู่รอบๆ ได้ถึง 180 องศา

หาดพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ความ ยาวประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ มีถนนเลียบชายหาดที่ร่มรื่น ชายหาดทางด้านเหนือเป็นบริเวณที่ค่อนข้างเงียบสงบ นักท่องเที่ยวนิยมไปเล่นน้ำนั่งพักผ่อน

พิพิธภัณฑ์ศิลปะในขวดแก้ว อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
จำลองงานสถาปัตยกรรมสถานที่สำคัญจากทุกมุมโลกไว้ในขวดแก้วขนาดต่าง ๆ เป็นผลงานสร้างสรรค์ของคุณปิเตอร์ เบย์เดอเลย์ ชาวเนเธอร์แลนด์

สวนสนุกพัทยาปาร์ค อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ปลายหาดดงตาล ด้านเหนือของหาดจอมเทียน มีสระน้ำวน สไลเดอร์สูงใหญ่ และเครื่องเล่นนานาชนิด มีหอคอยพัทยาปาร์คสูง 55 ชั้น

หมู่บ้านช้างพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
หมู่ บ้านช้างพัทยา จากถนนสุขุมวิทเข้าถนนพรประภานิมิตรมาประมาณ ๕ กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปมาบยายเลีย ๒ กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจ

ขาพระตำหนักหรือเขาพระบาท อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ซึ่ง เป็นภูเขาเตี้ย ๆ คั่นระหว่างหาดพัทยาใต้กับหาดจอมเทียน บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดเขาพระบาท อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

เกาะล้าน อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
อยู่ ห่างชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร นั่งเรือโดยสาร 45 นาที หากเดินทางโดยเรือเร็วใช้เวลาเพียง 15 นาที มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง

ริบลีส์ เวิลด์ ออฟ เอนเตอร์เม้นท์ อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การค้า รอยัล การ์เด้น พลาซ่า ชั้น 3 พัทยา ถนนชายหาดพัทยา กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ดังนี้

เรือดำน้ำภิรมย์ (วิมานใต้ทะเล) อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เป็น เรือดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวที่นำนักท่องเที่ยวดำสู่ใต้น้ำด้วยความลึกกว่า 20 เมตร เพื่อชมความงามของปะการังใต้ท้องทะเลบริเวณเกาะล้าน และเกาะสาก

เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เมือง พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งทางบก และทางน้ำ จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว

เมืองจำลองพัทยา อำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
เมือง จำลองพัทยา ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทก่อนเข้าตัวเมืองพัทยา ตรงหลัก กม. ที่ 143 เป็นสถานที่จำลองปูชนียสถาน และโบราณสถาน ที่สำคัญทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ย่อส่วนในอัตรา 1 ต่อ 25

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ตำบลบางพระ ในเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ สามารถเดินทางเข้าถึงได้ 2 เส้นทาง คือ จากถนนสุขุมวิทไปประมาณ 19 กิโลเมตร ผ่านอ่างเก็บน้ำ

สวนเสือศรีราชา อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
อยู่ ห่างจากตลาดศรีราชา (ทางไปโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา) ไปตามทางหลวงหมายเลข 3241 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทสวนสัตว์ มีฟาร์มเพาะเลี้ยงเสือโคร่งพันธุ์เบงกอลกว่า 200 ตัว

เกาะลอยศรีราชา อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี
ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล ทางทิศเหนือของตลาดศรีราชา เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งมีสะพานคอนกรีตเชื่อมระหว่างชายฝั่งกับเกาะลอย

ตลาดเครื่องจักสาน อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่บริเวณถนนเกาะแก้ว ซึ่งเป็นย่านตลาดเก่าของพนัสนิคม มีร้านค้าบ้านเรือนไม้แบบเก่าหลายหลัง จำหน่ายข้าวของเครื่องใช้ที่จักสานด้วยไม้ไผ่ ซึ่งเป็นหัตถกรรมขึ้นชื่อของพนัสนิคม เช่น ฝาชี กระจาด หมวก กระบุง ตะกร้า เป็นต้น

หอพระพนัสบดี อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่กลางสระน้ำ ตรงข้ามศาลาเทศบาลเมืองพนัสนิคม ถนนเมืองเก่า ซอย 1 เป็นที่ประดิษฐานพระพนัสบดีซึ่งจำลองจากองค์จริง เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพร สมัยทวารวดีที่สง่างามมาก อายุประมาณ 1,200-1,300 ปี แกะสลักอย่างประณีตจากหินดำเนื้อละเอียด ประทับยืนบนหลังสัตว์ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างครุฑ โค และหงส์

ตลาดหนองมน อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
อยู่ ริมถนนสุขุมวิท ห่างจากทางแยกเข้าหาดบางแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นแหล่งรวมของกินของฝากจากเมืองชล ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสดและแปรรูป

อ่างศิลา อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
อ่าง ศิลา เป็นหมู่บ้านประมงริมทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ มีร้านอาหารทะเล

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
อยู่ ติดกับมหาวิทยาลัยบูรพา ก่อนถึงชายหาดบางแสน มีเนื้อที่ 30 ไร่ ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม

หาดบางแสน อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
หาด บางแสน อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรี 14 กิโลเมตร แยกขวาจากถนนสุขุมวิท ตรงหลัก กม. 104 เข้าไป 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยที่มีชื่อเสียงมาช้านาน

หอพระพุทธสิหิงค์ อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่บนถนนวชิรปราการ ในตัวเมือง ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง (องค์จริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
เป็น ศาลเจ้าจีนที่ก่อสร้างอย่างสวยงามใหญ่โต ตั้งอยู่ริมเส้นทางเลียบชายทะเลจากอ่างศิลาไปเขาสามมุข มีตึก 4 ชั้น ภายในโอ่โถงตระการตาด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน

วัดธรรมนิมิตต์ อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่ที่ตำบลบ้านสวน บนถนนสายชลบุรี-พนัสนิคม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมงคลนิมิตต์

วัดใหญ่อินทราราม อำเภอเมือง จ.ชลบุรี
ตั้ง อยู่บนถนนเจตน์จำนงค์ในตัวเมืองชลบุรี เป็นวัดสำคัญเก่าแก่คู่เมืองชลบุรี มีสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย คือ พระอุโบสถฐานโค้งแอ่นท้องสำเภา

ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพ ฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดชลบุรีได้หลายเส้นทาง คือ
1. ใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
2. ใช้เส้นทางสายกรุงเทพฯ-มีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา-บางปะกง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
3. ใช้เส้นทางสายเก่า ถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะกง และให้แยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 34 ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี
4. ใช้เส้นทางหลวงพิเศษ (MOTOR WAY) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา โทร. 1193, 0 3839 2001

รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปจังหวัดชลบุรีทุกวัน ๆ ละ 1 เที่ยว ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟพลูตาหลวง สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ โทร. 1690, 0 2223-4334, 0 2220-4444 http://www.railways.co.th/

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) มีบริการรถโดยสารปรับอากาศไปชลบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.30-21.00 น. รถออกทุก 40 นาที โทร. 0 2391-9829 รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 มีบริการระหว่างเวลา 5.00–21.00 น. ออกทุก 30 นาที
โทร. 0 2391–2504 รถโดยสารธรรมดามีบริการตั้งแต่เวลา 5.00-21.00 น. ออกทุก 30 นาที โทร. 0 2391-2504 หรือจะขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ก็ได้ มีรถโดยสารปรับอากาศบริการตั้งแต่เวลา 6.30-18.30 น. โทร. 0 2936-2852-66 http://www.transport.co.th/  นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ออกจาก สถานีขนส่งสายใต้ เป็นรถโดยสารปรับอากาศไปพัทยาทุกวัน วิ่งเส้นบางนา-ตราด รถไปจอดที่ สถานีรถปรับอากาศ ถนนพัทยาเหนือ ของ บริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด เริ่มตั้งแต่เวลา 05.30-18.30 น.รถออกทุก 2 ชั่วโมง โทร. 0 2884 5582 สาขาพัทยา โทร. 0 3842 9877

เรือโดยสาร
มีบริการเรือโดยสาร (เรือสำราญ) สิริธารา โอเชี่ยน ควีน เส้นทางระหว่าง พัทยา-สมุย ออกเดินทางเวลา 16.30 น. ถึงปลายทาง เวลา 7.30 น. สนใจติดต่อ โทร. 0 2651 1346-9 , 0 2255 6470-5 โทรสาร 0 2651 1350 หรือเว็บไซต์ http://www.oceanqueen.co.th/

คำขวัญ ประจำจังหวัด

ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย

ชลบุรียุคปรับปรุงประเทศ

จังหวัดชลบุรีเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล อยู่ใกล้กรุงเทพ ฯ  อากาศดี การเดินทางสะดวก เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่เมืองไทย จึงเป็นสถานที่ชาวตะวันตกนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนตากอากาศ

ในปี พ.ศ.๒๓๘๑ หมอบรัดเล มิชชันนารี ชาวอเมริกันได้เข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในกรุงเทพ ฯ  ได้เดินทางมาเที่ยวทะเลแถบบางปลาสร้อย อ่างศิลา แล้วขึ้นบกเดินทางต่อไปเขาเขียว ซึ่งอยู่ทางด้านหลังบางพระเข้าไป หมอบรัดเลได้บันทึกการเดินทางครั้งนั้นว่าสนุกเพลิดเพลินมาก นอกจากชาวตะวันตกแล้ว เจ้านายของไทยก็นิยมไปพักผ่อนตากอากาศชายทะเลและพักฟื้นจากการเจ็บป่วยที่จังหวัดชลบุรีด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้น ชลบุรียังเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้กระยาเลย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตร ได้ขอสัมปทานทำป่าไม้กระยาเลยที่ศรีราชา ตั้งบริษัทป่าไม้ศรีราชา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นที่รู้จักกันในสมัยต่อมาว่า บริษัทศรีมหาราชา

โรงแรมบางแสนบีช ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

การสร้างท่าเทียบเรือและขนถ่านสินค้าที่อ่างศิลา อ่างศิลาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า     อ่างหิน ปัจจุบันเป็นตำบลอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อยู่ระหว่างตำบลบางปลาสร้อยกับเขาสามมุข ที่เรียกอ่างศิลาเพราะมีสระศิลา ยาวรีอยู่สองแห่ง แห่งหนึ่งลึกเจ็ดศอก กว้างสองศอก ยาวสิบวา อีกแห่งหนึ่งลึกหกศอก กว้างสามวาสองศอก ยาวเจ็ดวา ชาวบ้านและชาวเรือได้อาศัยใช้น้ำฝนในอ่างศิลาทั้งสองนั้นและบ่ออื่น ๆ อีก จึงเรียกว่า บ้านอ่าวศิลา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยเสด็จประพาสและประทับแรมที่อ่าวศิลาหลายครั้งแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า อ่างศิลามีศิลาใต้น้ำมาก เวลาน้ำลงจะมีศิลาและเลนลาดออกไปจากฝั่งเป็นระยะทางยาวไม่สะดวกในการจอดเรือเทียบท่า จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เสนาบดีกรมท่าสร้างสะพานหินให้ยาวออกไปในทะเลจนพ้นเขตศิลาใต้น้ำ เพื่อสะดวกแก่เรือพาณิชย์ที่มาแวะจอดเทียบท่าขนถ่ายสินค้าในบางฤดูกาล

การสร้างอาศรัยสถานและด่านหลวงที่อ่างศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะเคยเสด็จมาประทับแรมที่อ่างศิลาหลายครั้ง แต่มิได้ทรงสร้างวังที่ประทับแต่อย่างใด เพียงแต่โปรดเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้สร้างพลับพลาเล็ก ๆ หลังเดียว เวลาประทับค้างแรมจะประทับแรมในเรือพระที่นั่ง ต่อมา เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ 
สมุหกลาโหมได้สร้างอาคารก่ออิฐถือปูนไว้เป็นที่พักฟื้นคนป่วยหลังหนึ่ง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (เจ้าคุณกรมท่า) สร้างอีกหลังหนึ่ง อาคารดังกล่าวชาวต่างประเทศได้ไปพักอาศัยอยู่เสมอเรียกกันในสมัยนั้นว่า อาศรัยสถาน อาคารทั้งสองหลังได้รับการบูรณะซ่อมแซมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ และได้รับพระราชทานนามว่า ตึกมหาราชและตึกราชินี ผู้ใดประสงค์จะเข้าพักรักษาตน เมื่อได้รับอนุญาตจากเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้วก็เข้าพักอาศัยได้ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า

ในปี พ.ศ.๒๔๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปรับพระเศวตสุวภาพรรณ ที่สระบุรี และเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทกับพระพุทธฉายแล้ว ได้เสด็จกลับทางนครนายก ปราจีนบุรีและมาที่อ่างศิลา  ครั้งนั้น เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เสนาบดีกรมท่า ได้ออกมาสร้างพลับพลารับเสด็จที่อ่างศิลาเป็นพลับพลาที่สร้างค่อนข้างถาวร เพื่อจะได้ใช้ในโอกาศต่อไปด้วย โดยสร้างเป็นค่ายหลวงใหญ่ มีท้องพระโรงและพระที่นั่ง มีเรือนข้างหน้าข้างในใหญ่โต พร้อมทุกพนักงาน

วัดจีนอ่างศิลา (วัดอ่างศิลา) ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ยกบ้านอ่างศิลาขึ้นเป็นเมือง ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับจากเสด็จประพาสเมืองจันทบุรีมาถึงอ่างศิลา ทรงพอพระทัยปลัดจีนเมืองชลบุรี ที่เสนาบดีกรมท่าจัดมาเป็นผู้ดูแลรักษา ค่ายหลวงอ่างศิลาที่ดูแลรักษาไว้ได้ดีมาก จึงมีรับสั่งกับเสนาบดีกรมท่าว่าจะยกบ้านอ่างศิลาให้เป็นเมืองหนึ่งขึ้นกับเมืองชลบุรี ด้วยเห็นว่า ที่บ้านอ่างศิลามีคนอยู่มากและจะทรงแต่งตั้งปลัดที่ดูแลความเรียบร้อย ที่บ้านอ่างศิลาในขณะนั้นขึ้นเป็นเจ้าเมือง เมืองอ่างศิลาเปลี่ยนฐานะมาเป็นอำเภอในจังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ไม่มากในปัจจุบัน ทำให้ทราบได้ว่า ชลบุรีมีร่องรอยการตั้งชุมชนเก่าแก่ในยุคหินขัดอยู่ด้วย เช่น บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำพานทองเคยมีมนุษย์ในยุคหินใหม่อาศัยอยู่ โดยชนกลุ่มนี้นิยมใช้ขวานหินขัดเพื่อการเก็บหาล่าไล่ รวมถึงการใช้ลูกปัดและกำไล ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบลงไปขณะดินยังไม่แห้ง นอกจากนี้ยังพบเศษอาหารทะเลพวกหอย ปู และปลาอีกด้วย

ในสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี ประมาณ 1,400-700 ปีก่อน บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคมในปัจจุบัน มีร่องรอยของเมืองใหญ่ชื่อ “เมืองพระรถ” ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มซึ่งแม่น้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำพานทอง โดยสามารถใช้แม่น้ำสายนี้เป็นทางคมนาคมติดต่อกับเมืองศรีมโหสถในจังหวัดปราจีนบุรี จนไปถึงอรัญประเทศได้  อีกทั้งยังมีเส้นทางเดินเท้าเชื่อมไปถึงจังหวัดระยองและจันทบุรี ผ่านเมืองพญาเร่ซึ่งเป็นเมืองโบราณสำคัญอีกแห่งหนึ่งของชลบุรี เมืองพระรถจึงกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของชลบุรีในยุคนั้น

งานประจำปีจังหวัดชลบุรี ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ถัดลงมาทางทิศใต้ตามลำน้ำพานทองช่วงออกทะเลที่ปากน้ำบางปะกง ในอดีตยังมีเมืองสำคัญอีกแห่งตั้งอยู่ชื่อ “เมืองศรีพโล” โดยเมื่อ 600 ปีก่อนในสมัยสุโขทัย เมืองนี้มีฐานะเป็นเมืองท่าชายทะเลที่มั่งคั่ง เปิดรับเรือสำเภาจากจีน กัมพูชา และเวียดนาม ให้มาจอดพักก่อนเดินทางต่อไปยังปากน้ำเจ้าพระยา (เป็นที่น่าเสียดายว่ากำแพงเมืองศรีพโลได้ถูกทำลายไปหมดสิ้นจากการก่อสร้างถนนสุขุมวิท จึงไม่เหลือร่องรอยทางโบราณคดีไว้ให้ศึกษาอีกต่อไป)  ต่อมาในสมัยอยุธยา เมืองศรีพโลก็ค่อยๆ หมดความสำคัญลง อาจเพราะปากแม่น้ำตื้นเขินจากการพัดพาสะสมของตะกอนจำนวนมหาศาล ประชาชนจึงย้ายถิ่นฐานลงมาสร้างเมืองใหม่ที่ “บางปลาสร้อย” ซึ่งก็คือ “เมืองชลบุรี” ในปัจจุบัน (วัดใหญ่อินทารามในตัวเมืองชลบุรีปัจจุบัน ยังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังการค้าขายระหว่างคนไทย จีน และฝรั่ง บ่งบอกถึงบรรยากาศการค้าขายอันคึกคักในอดีต)

ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระอินทอาษา ชาวเมืองเวียงจันทน์พาชาวลาวจำนวนหนึ่งมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งถิ่นอาศัยอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีและฉะเชิงเทรา (บริเวณเมืองพนัสนิคมในปัจจุบัน) ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้รวบรวมเมืองเล็กๆ ต่างๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็น “จังหวัดชลบุรี” ดังเช่นทุกวันนี้

กำเนิดเมืองพนัสนิคม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ ท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม ได้นำชาวลาวจำนวนกว่าสองพันคน เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในจำนวนนั้นมีชายฉกรรจ์ ๘๖๐ คน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองมหาวงศ์ เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวอินอินศาล   บุตรท้าวไชยอุปราช เป็นพระยาปลัดเมืองสมุทรปราการ (ปลัดลาว) เพื่อดูแลกลุ่มคนลาวดังกล่าว ลาวกลุ่มนี้เรียกว่าลาวอาสาปากน้ำ ต่อมาลาวกลุ่มนี้ได้ขอไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองพระรถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเป็นเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๑ ชื่อเมืองพนัสนิคม
เจ้าเมืองชื่อพระอินทรอาษา

สะพานข้ามเกาะลอย ศรีราชา ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

พระอินทรอาษามีผลงานที่สำคัญคือช่วยปราบกบฏจีนตั้วเหี่ยที่เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๑ และในปี พ.ศ.๒๓๗๒ ได้ขึ้นไปเกลี้ยกล่อมชาวลาวที่เมืองนครพนม มาอยู่ที่เมืองพนัสนิคมอีกกลุ่มหนึ่ง

ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ เจ้าเมืองพนัสนิคมได้รับมอบให้นำกำลังไปจุกช่องล้อมวงอารักขาเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อทรงรับการอัญเชิญขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เชื้อสายของพระอินทรอาษาได้ปกครองเมืองพนัสนิคมสืบต่อมาจนเมืองพนัสนิคมโอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ โดยรวมอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดชลบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื้อสายพระอินทรอาษาได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ทุมมานนท์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ชลบุรีสมัยอยุธยาและธนบุรี  ตามทำเนียบศักดินาหัวเมือง พ.ศ.๑๙๑๙ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) เมืองชลบุรีมีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองมีฐานะเป็น ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร ศักดินา ๒,๔๐๐ ไร่ ขึ้นประแดง อินทปัญญาซ้าย

บริเวณถนนตัดสี่แยกเฉลิมไทยในอดีต

ในสมัยอยุธยา ชลบุรีเป็นเมืองตรี ปกครองอย่างมีกรมการเมือง เจ้าเมืองมียศเป็น ออกพระ ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ (เท่าปลัดเมืองเอก) ปลัดเมืองศักดินา ๖๐๐ ไร่ ยกกระบัตร ศักดินา ๕๐๐ ไร่ เป็นเมืองส่วยไม้แดง คือมีหน้าที่เก็บส่วยแทนแรงไพร่ (หลวง)  ส่วยเป็นเนื้อไม้แดงส่งไปกรุงศรีอยุธยา เพราะทางตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลบางทราย มีป่าไม้แดงมากจนได้ชื่อว่าตำบลหนองไม้แดง

ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๒๗ - ๑๙๒๙  พระยากัมพูชาลอบยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองชลบุรีและเมืองจันทบุรีไปกัมพูชาประมาณ ๖ - ๗ พันคน

ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น กรมหมื่นเทพพิพิธได้มาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรจ์ ทางหัวเมืองภาคตะวันออกได้แก่จันทบุรี ระยอง บางละมุง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เข้าร่วมกองทัพโดยอ้างว่าจะไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ในครั้งนั้นชาวชลบุรีได้ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งชลบุรีแทบกลายเป็นเมืองร้าง กรมหมื่นเทพพิพิธรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ยกไปตั้งมั่นที่เมืองปราจีนบุรี แต่ถูกกองทัพจากอยุธยาออกไปโจมตี แล้วฝ่ายพม่าเข้าโจมตีซ้ำจนฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธแตกพ่ายไป

ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าประมาณสองเดือน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังประมาณ ๑,๐๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้เดินทางผ่านบ้านพานทอง ตำบลดอนหัวล่อ บ้านอู่ตะเภา หนองไม้แดง เขาพระบาท บางปลาสร้อย (เมืองชลบุรี)  แต่ชลบุรีในเวลานั้นมีสภาพเหมือนเมืองร้าง จึงเลยไปที่พัทยา รุ่งขึ้นจึงไปจอมเทียน แล้วต่อไปที่ทุ่งไก่เตี้ยและสัตหีบ จากนั้นจึงไปสู่ระยอง ได้ปะทะกับกำลังของขุนรามหมื่นซ่อง (ส้อง) แห่งเมืองระยอง ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้ กำลังได้แตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนายอยู่นกเล็ก ได้มาตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ที่บางปลาสร้อย กองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกมาปราบ โดยมาตั้งอยู่ที่หนองมน แล้วส่งคนไปเจรจา นายทองอยู่นกเล็กยอมสวามิภักดิ์ แล้วนำเสด็จเข้าเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสุนทร รักษาเมืองชลบุรี ต่อมาเขาประพฤติมิชอบจึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง

โรงพยาบาลชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นผู้รักษาเมืองชลบุรี และทายาทของเจ้าพระยาจักรี (แขก) ได้ปกครองเมืองชลบุรีต่อมาอีกสี่ชั่วอายุคน เท่าที่มีหลักฐานได้แก่ ออกพระชลบุรีศรีมหาสมุทร (หวัง  สมุทรานนท์) ปกครองเมืองชลบุรีตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช  ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพระยาราชวังสัน ตำแหน่งเจ้ากรมพาณิชย์นาวี บุตรหลานของท่านได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองชลบุรี ต่อมาจนถึงหลวงภูมิรักษ์บดี (จอม) นายทะเบียนที่ดินเมืองชลบุรีได้รับพระราชทานนามสกุล ๓  จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าสมุทรานนท์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖

ชลบุรีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช ชลบุรีเป็นเมืองจัตวา สังกัดกรมท่า จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๗ จึงย้ายไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย

องเชียงสือมาลี้ภัยการเมืองที่เกาะกระบือ  ครั้งนั้นพระยาชลบุรีไปตรวจท้องที่พบเข้าจึงแนะนำให้ไปขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลี้ภัยการเมืองที่กรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาราช ทรงอนุญาตให้เข้ามาพำนักอยู่ที่บ้านใต้ต้นสำโรง ต่อมาได้กลับไปกอบกู้บ้านเมืองเป็นพระเจ้าเวียดนามญาลอง